เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
มรณะทำให้ชีวิตทั้งปวงหมดสิ้นไป ความเสื่อมลาภทำให้ลาภทั้งปวงหมดสิ้นไป ความ
เสื่อมยศทำให้ยศทั้งปวงหมดสิ้นไป การนินทาทำให้ความสรรเสริญทั้งปวงหมดสิ้นไป
ความทุกข์ทำให้ความสุขทั้งปวงหมดสิ้นไป รวมความว่า มีที่สิ้นสุด
คำว่า และถูกสกัดกั้น อธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความเป็นหนุ่มสาว
ถูกชราขัดขวาง ผู้ต้องการความไม่มีโรคถูกพยาธิขัดขวาง ผู้ปรารถนาเพื่อมีชีวิตอยู่
ถูกมรณะขัดขวาง ผู้ปรารถนาลาภถูกความเสื่อมลาภขัดขวาง ผู้ปรารถนายศถูก
ความเสื่อมยศขัดขวาง ผู้ปรารถนาความสรรเสริญถูกการนินทาขัดขวาง ผู้ปรารถนา
ความสุขถูกความทุกข์สกัดกั้น คือ ขัดขวาง กระทบ กระทบกระทั่ง ทำลายล้างผลาญ
รวมความว่า สัตว์มีที่สิ้นสุดและถูกสกัดกั้น
คำว่า เพราะเห็น ในคำว่า เพราะเห็น... ความไม่ยินดีจึงมีแก่เรา ได้แก่
เพราะเห็น คือ เพราะมองเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง
รวมความว่า เพราะเห็น
คำว่า ความไม่ยินดีจึงมีแก่เรา ได้แก่ ความไม่ยินดี คือ ความไม่ใยดี
ความระอา ความเบื่อ ความหน่าย ได้มีแล้ว รวมความว่า เพราะเห็น... ความไม่
ยินดีจึงมีแก่เรา
คำว่า อนึ่ง ในคำว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร... ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้แล้ว
เป็นคำเชื่อมบท... คำว่า อนึ่ง นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ใน... เหล่านี้ ได้แก่ ในสัตว์ทั้งหลาย
คำว่า ลูกศร ได้แก่ ลูกศร 7 ชนิด คือ

1. ลูกศรคือราคะ 2. ลูกศรคือโทสะ
3. ลูกศรคือโมหะ 4. ลูกศรคือมานะ
5. ลูกศรคือทิฏฐิ 6. ลูกศรคือโสกะ
7. ลูกศรคือความสงสัย

คำว่า ได้เห็น ได้แก่ ได้เห็น คือ ได้มองเห็น ได้แลเห็น ได้แทงตลอด
รวมความว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร... ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :491 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
คำว่า ที่เห็นได้ยาก ในคำว่า ที่เห็นได้ยากอันอาศัยหทัย ได้แก่ เห็นได้ยาก
คือ มองเห็นได้ยาก แลเห็นได้ยาก รู้ได้ยาก ตามรู้ได้ยาก แทงตลอดได้ยาก
รวมความว่า ที่เห็นได้ยาก
คำว่า อันอาศัยหทัย อธิบายว่า จิตตรัสเรียกว่า หทัย ได้แก่ จิต มโน
มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุ1ที่เกิดจากวิญญาณขันธ์นั้น
คำว่า อันอาศัยหทัย อธิบายว่า อันอาศัยหทัย คือ อันอาศัยจิต อาศัยอยู่
ในจิต ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบร่วมกัน เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกับจิต รวมความว่า ที่เห็นได้ยากอัน
อาศัยหทัย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เพราะเห็นสัตว์มีที่สิ้นสุดและถูกสกัดกั้น
ความไม่ยินดีจึงมีแก่เรา
อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร ที่เห็นได้ยาก
อันอาศัยหทัยในสัตว์เหล่านี้แล้ว
[174] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สัตว์ถูกลูกศรใดปักติดแล้ว วิ่งพล่านไปทุกทิศทาง
เพราะถอนลูกศรนั้นได้แล้ว จึงไม่ต้องวิ่งพล่าน ไม่ต้องล่มจม

ว่าด้วยลูกศร 7 ชนิด
คำว่า สัตว์ถูกลูกศรใดปักติดแล้ว วิ่งพล่านไปทุกทิศทาง อธิบายว่า
คำว่า ลูกศร ได้แก่ ลูกศร 7 ชนิด คือ

1. ลูกศรคือราคะ 2. ลูกศรคือโทสะ
3. ลูกศรคือโมหะ 4. ลูกศรคือมานะ
5. ลูกศรคือทิฏฐิ 6. ลูกศรคือโสกะ
7. ลูกศรคือความสงสัย


เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 1/3

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :492 }